สำหรับสาย Scalping ไทม์เฟรม 5 นาทีห้ามพลาดเพราะว่าบทความนี้จะนำอินดิเคเตอร์ 2 ตัวจาก TradingView มาสร้างเป็นกลยุทธ์ที่สามารถทำกำไรได้ มีจุดเข้าออกที่ชัดเจน โดยเราจะมาเรียนรู้กลยุทธ์การเทรด Scalping ไทม์เฟรม 5 นาที จากหัวข้อดังต่อไปนี้
- การเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์
- การตั้งค่าอินดิเคเตอร์
- การใช้งานเบื้องต้นของอินดิเคเตอร์
- เงื่อนไขการเทรด การตั้งจุดกำไรและขาดทุน
- ผลของการทดสอบระบบ
- แนวทางปรับค่าพารามิเตอร์ของอินดิเคเตอร์
- ปรับปรุงกลยุทธ์ เพิ่มกำไร พร้อมผลการทดสอบ
- คำแนะนำ
การเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์
สำหรับกลยุทธ์นี้ต้นฉบับจากช่อง Power of Trading บน YouTube จะใช้อินดิเคเตอร์ทั้งหมด 3 ตัว ซึ่งสำหรับเวอร์ชั่นฟรีนั้นจะไม่สามารถใช้งานอินดิเคเตอร์ได้เกิน 2 ตัว ผู้เขียนจึงมีได้มีการใช้ฟังก์ชันของอินดิเคเตอร์เข้ามาทดแทน
การเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์บน TradingView
ภาพการเรียกใช้อินดิเคเตอร์ TradingView
- EMA Difference Histogram and Stochastic Indicator ของ Wugamlo
- Purple Cloud ของ muratm82
อินดิเคเตอร์ทั้ง 2 ตัวนี้มีผู้ใช้งานไม่เกิน 1,000 คน ด้วยความที่เป็น indicator ใหม่จึงมีผู้ใช้งานน้อยแต่เมื่อนำมารวมกันก็สามารถสร้างกลยุทธ์ที่สามารถทำกำไรจากตลาด Forex ได้
การตั้งค่าอินดิเคเตอร์
ตั้งค่า Purple Cloud
ภาพการตั้งค่า input Purple Cloud
ตั้งค่า input
- Supertrend ATR Length ใช้ค่ามาตรฐาน
- Supertrend Factor ใช้ค่ามาตรฐาน
- Period ปรับเป็น 21
- Alpha ปรับเป็น 0.3
- Buying Pressure Threshold % ปรับเป็น 0.1
- Selling Pressure Threshold % ปรับเป็น 0.1
- ติ๊กเครื่องหมาย “ถูก” EMA 200 (ใช้แทนอินดิเคเตอร์ SMA 100)
ภาพการตั้งค่า Style Purple Cloud
ตั้งค่า Style
- EMA 200 ปรับเป็นสีขาว ขนาดเส้นหนาสุด
ตั้งค่า EMA Difference Histogram and Stochastic Indicator
ภาพการตั้งค่า input EMA Diff & Stoch
ตั้งค่า input
- EMA 1 ปรับเป็น 7
- EMA 2 ปรับเป็น 45
- %K Smooth ปรับเป็น 7
- %D Smooth ปรับเป็น 5
- Stochastic Length ใช้ค่ามาตรฐาน
ภาพการตั้งค่า Style EMA Diff & Stoch
ตั้งค่า Style
- Color 0 ปรับเป็นสีเขียว
- Color 1 ปรับเป็นสีเขียว
- Color 2 ปรับเป็นสีแดง
- Color 3 ปรับเป็นสีแดง
- เอาเครื่องหมาย “ถูก” Stochbull ออก
- เอาเครื่องหมาย “ถูก” Stochbear ออก
การใช้งานเบื้องต้นของอินดิเคเตอร์
Purple Cloud
Purple Cloud เป็นอินดิเคเตอร์ที่บ่งบอกแนวโน้มของเทรนด์ในตลาด พร้อมบอกจุดเข้าเทรดที่ชัดเจนประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน
- เครื่องหมาย Buy / Sell พร้อมสีแท่งเทียน
- เส้น EMA 200
ภาพอธิบาย Purple cloud
เครื่องหมาย Buy / Sell พร้อมสีแท่งเทียน
- เครื่องหมาย Buy ( รูปจรวด ) บ่งบอกจุดเข้าเทรดตลาดขาขึ้น เมื่อเกิดเครื่องหมายแท่งเทียนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวสะท้อนตลาดขาขึ้น
- เครื่องหมาย Sell ( ดาวตก ) บ่งบอกจุดเข้าเทรดตลาดขาลง เมื่อเกิดเครื่องหมายแท่งเทียนจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสะท้อนตลาดขาลง
ภาพอธิบาย Purple cloud
เส้น EMA 200 ( ใช้แทนเส้น SMA 100)
- เส้น EMA 200 เป็นเส้นที่ใช้แสดงแนวโน้มของตลาดในระยะยาว
EMA Difference Histogram and Stochastic Indicator
EMA Difference Histogram and Stochastic Indicator เป็นอินดิเคเตอร์ ใช้แสดงโมเมนตัมของตลาด ประกอบด้วยองค์ประกอบ 1 ส่วน
- Histogram
ภาพอธิบาย EMA Diff & Stoch
Histogram
- Histogram สีเขียวบ่งบอกถึงตลาดเริ่มมีแรงซื้อเข้ามาและกำลังเข้าสู่โมเมนตัมขาขึ้น
- Histogram สีแดงบ่งบอกถึงตลาดเริ่มมีแรงขายเข้ามาและกำลังเข้าสู่โมเมนตัมขาลง
เงื่อนไขการเทรด การตั้งจุดกำไรและขาดทุน
การเทรดด้วยกลยุทธ์ Purple Cloud นอกจากจะดูเครื่องหมาย Buy / Sell เพื่อเข้าเทรดแล้วเราจะดูโม-
เมนตัมของตลาดร่วมกับแนวโน้มระยะยาวเพื่อเป็นการคอนเฟิร์มอีกรอบนึง
เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น
ภาพเงื่อนไขการเทรดขาขึ้นขั้นตอนที่ 1-2
- แท่งเทียนปิดเหนือ หรือ อยู่เหนือเส้น EMA 200
- เกิดสัญญาณ Buy และแท่งเทียนเปลี่ยนเป็นสีเขียว
ภาพเงื่อนไขการเทรดขาขึ้นขั้นตอนที่ 3
- EMA Diff & Stoch เกิด Histogram สีเขียว
ภาพเงื่อนไขการเทรดขาขึ้นขั้นตอนที่ 4-6
- เปิดออร์เดอร์ Buy
- ตั้ง Stop loss ไว้ที่ Swing Low ล่าสุด
- ตั้ง TP โดยใช้ RR 1:1.5
เงื่อนไขการเทรดขาลง
ภาพเงื่อนไขการเทรดขาลงขั้นตอนที่ 1-2
- แท่งเทียนปิดใต้ หรือ อยู่เหนือเส้น EMA 200
- เกิดสัญญาณ Sell และแท่งเทียนเปลี่ยนเป็นสีแดง
ภาพเงื่อนไขการเทรดขาลงขั้นตอนที่ 3
- EMA Diff & Stoch เกิด Histogram สีแดง
ภาพเงื่อนไขการเทรดขาลงขั้นตอนที่ 4-6
- เปิดออร์เดอร์ Sell
- ตั้ง Stop loss ไว้ที่ Swing High ล่าสุด
- ตั้ง TP โดยใช้ RR 1:1.5
ผลของการทดสอบระบบ
ผู้เขียนได้ทำการทดสอบกลยุทธ์นี้กับคู่เงิน GBP/JPY ไทม์เฟรม 5 นาที ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 5 กันยายน 2567 ช่วงเวลา 7:00 น ถึง 15:00 น ซึ่งผลของการทดสอบบ่งบอกว่ากลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่อยู่ในระดับดีพอใช้สามารถทำกำไรได้
ผลการทดสอบ
ภาพผลการทดสอบกลยุทธ์
- ทั้งหมด 17 ไม้
- ชนะ 8 ไม้
- แพ้ 9 ไม้
- อัตราการชนะ 47 %
- ชนะต่อเนื่อง 2 ไม้
- แพ้ต่อเนื่อง 2 ไม้
- กำไร 70 ปี๊บ
สามารถดูผลของการทดสอบได้ที่ลิงก์นี้ Backtest ( Sheet 1)
ข้อสังเกต
- กลยุทธ์นี้บางครั้งต้องรับความเสี่ยงสูง เนื่องจากในช่วงตลาดผันผวนระยะ Stop loss จะค่อนข้างกว้าง ดังนั้นการใช้งานกลยุทธ์นี้ต้องนำระยะ Stop loss เข้ามาปรับปรุงกลยุทธ์ด้วย
- ด้วยระยะ Stop loss ที่กว้างทำให้บางครั้งราคาวิ่งไปไม่ถึงเป้าหมาย
- ในช่วงตลาด SideWay สัญญาณการเทรดจะมาคร่อมบางครั้งทำให้พลาดสัญญาณการเทรดที่เทรดได้กำไร
แนวทางปรับปรุงกลยุทธ์
หลังจากการทดสอบครั้งแรกทำให้รู้ว่าอินดิเคเตอร์ทั้ง 2 ตัวเป็นอินดิเคเตอร์ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องการปรับค่า
- ถ้าต้องการปรับสัญญาณเข้าเทรดให้ปรับค่าของ Purple Cloud
- ถ้าต้องการปรับตัวคอนเฟิร์มการเข้าเทรดให้ปรับที่ EMA Diff & Stoch
แนวทางการปรับค่าพารามิเตอร์ของ Purple Cloud
ภาพแนวทางการปรับค่า Purple Cloud
- Buying Pressure Threshold % และ Selling Pressure Threshold % ยิ่งปรับให้ค่าต่ำลงทำให้เกิดสัญญาณเทรดมากขึ้น แต่ถ้าปรับให้ค่าสูงเกินไปก็จะไม่เกิดสัญญาณเทรดใดๆ
- Period ก็เป็นอีกค่าหนึ่งที่เมื่อปรับแล้วทำให้เกิดสัญญาณเทรดที่แตกต่างออกไป ยิ่งปรับค่าลดลงยิ่งเกิดสัญญาณเทรดบ่อย ยิ่งปรับค่าให้มากขึ้นยิ่งเกิดสัญญาณเทรดน้อยลง
แนวทางการปรับค่า EMA Diff & Stoch
ภาพแนวทางการปรับค่า EMA Diff & Stoch
- EMA 1 และ EMA 2 ยิ่งปรับค่าให้สูงมากขึ้นจะช่วยให้อินดิเคเตอร์แสดงโมเมนตัมของตลาดในระยะยาวมากขึ้น
ปรับปรุงกลยุทธ์เพิ่มกำไร พร้อมผลการทดสอบ
หลังจากที่ได้ทำการทดสอบกลยุทธ์ครั้งแรกผู้เขียนก็รู้ถึงปัญหาของกลยุทธ์นี้จึงได้ทำการปรับค่าพารามิเตอร์ของอินดิเคเตอร์ และนำแนวทางในการควบคุมความเสี่ยงที่ผู้เขียนใช้เป็นประจำเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์นี้ให้ดีมากขึ้น โดยใช้เงื่อนไขการเทรดเดิม ซึ่งผลการทดสอบนั้นก็ออกมาดีพอสมควรเลยทีเดียว
ปรับค่า Purple Cloud
ภาพการปรับค่า Purple Cloud
ปรับค่า input
- ปรับค่า Period จาก 21 เป็น 30
ผลของการทดสอบ
ภาพผลการทดสอบหลังปรับค่าและปรับปรุงกลยุทธ์
- เทรดทั้งหมด 17 ไม้
- ชนะ 7 ไม้
- แพ้ 5 ไม้
- เสมอ 5 ไม้
- อัตราการชนะ 41% ( ไม่รวมไม้ที่เสมอ)
- ชนะต่อเนื่อง 2 ไม้
- ไม่มีแพ้ต่อเนื่อง
- กำไร 621 ปี๊บ
ผลการทดสอบหลังทดลองปรับค่าพารามิเตอร์สามารถดูได้ที่ลิงก์นี้ Backtest ( Sheet 2)
สิ่งที่ปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนากลยุทธ์
- มีการกันหน้าทุนเพื่อลดความเสี่ยง เมื่อราคาวิ่งมาถึง RR 1:1
- ใช้ RR 1:2
- มีการปรับค่าพารามิเตอร์ของอินดิเคเตอร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
ข้อสังเกต
- หลังจากเอาวิธีการควบคุมความเสี่ยงทำให้กลยุทธ์นี้สามารถทำกำไรได้มากขึ้นหลายเท่า
- จำนวนการเทรดใกล้เคียงกับการทดสอบครั้งแรก และไม่มีการแพ้ต่อเนื่อง
- ถึงแม้ว่าอัตราการชนะจะลดลง แต่ความเสี่ยงก็ลดลงเช่นเดียวกัน
- Equity Curve สวยขึ้น ไม่มีช่วง Drawdown
คำแนะนำ
ภาพคำแนะนำการใช้กลยุทธ์
- กลยุทธ์นี้เหมาะกับการใช้งานในไทม์เฟรม 5 นาที
- การใช้งานกับไทม์เฟรมอื่นต้องมีการปรับค่าพารามิเตอร์
- อินดิเคเตอร์ทั้ง 2 ตัวกลับค่าพารามิเตอร์ค่อนข้างยาก ผู้ใช้งานต้องอาศัยประสบการณ์ในการใช้งานอินดิเคเตอร์
- เป็นกลยุทธ์ที่ต้องนำไป Backtest และ Forward test เพื่อหาสถิติที่แน่นอนและหาค่าพารามิเตอร์ที่ดีที่สุดของแต่ละคู่เงิน
เครดิตกลยุทธ์ : Power of Trading